อาหาร/เครื่องดื่ม

ชาจีน


หากเอ่ยถึงน้ำชาร้อน ๆ เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะกำลังอาจจะกำลังนึกถึงภาพของชาวจีนที่เป็นอาแปะแก่ๆ กำลังนั่งซดน้ำชาร้อนๆ มีไอขึ้นรอบๆ ถ้วย โดยมีแบล็คกราวด์เป็นภูเขาสีเขียว   หรืออาจจะเป็นเก้าอี้เก่า ๆ ตั้งอยู่หน้าบ้าน ที่เหล่าบรรดาอาแปะกำลังฟินกับรสชาติของชาอย่างสบายอารมณ์ ซึ่งเป็นภาพและบรรยากาศที่น่าจดจำที่เราอาจจะได้เห็นจากสารคดี ซึ่งเป็นเรื่องราววัฒนธรรมของชาวจีนกันอยู่บ่อย ๆ

ทำให้เวลาพูดถึง น้ำชา ทีไร ก็มักจะได้เห็นภาพเหล่านั้นผุดขึ้นมาทุกที ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า เราได้คุ้นชินกับภาพคนจีนแก่ ๆ ที่แม้จะย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในเมืองไทย แต่ก็ยังทำให้เราได้มีโอกาสสัมผัสกันได้บ้าง ด้วยความที่การดื่มน้ำชาของชาวจีนที่เรามักจะเห็นแต่ละบ้านดื่มกันแทนน้ำเปล่านั้น จึงดูเหมือนกลายเป็นวัฒนธรรมการดื่มชาขึ้นมาเลยทีเดียว น้ำชาเป็นเครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่น
ซึ่งในสมัยราชวงศ์ถัง ค.ศ. 618 906 ชาได้รับการยกย่องเป็นเครื่องดื่มประจำชาติของชาวจีน แล้วศัพท์คำว่า
ชา หรือ Cha ก็ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อเป็นการเรียกใบไม้ชนิดหนึ่ง โดยเมื่อมีการนำมาต้มดื่ม จะส่งกลิ่นหอม ทำให้ชุ่มคอ มีน้ำสีน้ำตาล ทราบมาว่าชาวจีนดื่มชาโดยมีประวัติการดื่มชามากว่า 4,000 ปีแล้ว ชาจึงเป็นเครื่องดื่มที่ขาดไม่ได้ในชีวิต ประจำวันของชาวจีน ซึ่งการเลี้ยงน้ำชาเป็นประเพณีของชาวจีนที่ทำกันมานาน ซึ่งหากมีแขกมาเยี่ยมที่บ้าน เจ้าของบ้านก็จะรีบชงชาที่มีกลิ่นหอมพร้อมเสิร์ฟทันที เรียกว่าดื่มชาไปพลางคุยกันไปพลางในบรรยากาศสบาย ๆ เพราะในใบชามีสารพัดประโยชนอกจากจะหอมหวนชวนดื่มแล้ว ใบชายังช่วยดูแลสุขภาพอีกด้วย จึงทำให้ปัจจุบันนี้มีผู้นิยมหันมาดื่มชากันมากขึ้น

ประเพณีการดื่มชาในจีน มีประวัติยาวนาน เล่ากันว่าในปี 280 ก่อนคริสต์ศักราชในทางภาคใต้ของจีนมีก๊กเล็กชื่อ หวูกั๋ว กษัตริย์ของก๊กนี้ทรงโปรดจัดงานเลี้ยงขุนนาง และดื่มเหล้ากันจนเมามาย แต่มีขุนนางคนหนึ่งชื่อเหว่ยจาวดื่มเหล้าไม่เก่ง กษัตริย์ก็เลยโปรดให้เขาดื่มน้ำชาแทนเหล้า หลังจากนั้นต่อมาเหล่าปัญญาชนก็เริ่มใช้น้ำชาเลี้ยงแขก จนถึงสมัยราชวงศ์ถัง ทำให้การดื่มน้ำชาได้กลายเป็นความเคยชินของชาวจีนมาโดยตลอด ซึ่งยังมีเรื่องเล่ากันอีกว่า ประเพณีนี้ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ ประมาณปีค.ศ 713 741 ในพุทธศาสนานิกายเซนของจีน พระสงฆ์และศาสนิกในวัดต้องนั่งเข้าฌานเป็นเวลานาน ทำให้มีอาการรู้สึกง่วงและอยากกินของเล่น เจ้าอาวาสจึงคิดวิธีให้ดื่มชา ซึ่งมีผลทำให้ประสาทตื่น

หลังจากนั้นวิธีดื่มชานี้ก็ได้เผยแพร่ไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในช่วงเวลาเดียวกันของสมัยราชวงศ์ถัง ตามบ้านเศรษฐียังมีการจัดห้องต้มน้ำชา และชิมชาสำหรับเอาไว้เสิร์ฟเวลาอ่านหนังสือโดยเฉพาะ

ในปี ค.ศ 780 นายลู่อวี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านใบชาของราชวงศ์ถังได้รวบรวมประสบการณ์การปลูกชา ผลิตใบและการดื่มชา เพื่อนำมาเขียนตำราเกี่ยวกับชา ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับใบชาหรือการดื่มชา และประวัติของชาเล่มแรกของจีน ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง ฮ่องเต้ ซ่งฮุยจง ก็ได้มีพิธีจัดงานเลี้ยงน้ำชาขุนนางผู้ใหญ่ และทรงต้มน้ำชาเองในพระราชวังหลวงของสมัยราชวงศ์ถัง อีกทั้งยังจัดงานน้ำชาเลี้ยงเหล่าบรรดาทูตต่างประเทศอีกด้วย

ปัจจุบันในวันเทศกาลขึ้นปีใหม่หรือวันตรุษจีน หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ของจีนส่วนมากจะจัดงานเลี้ยงน้ำชาสัมมนาในจีน ทำให้ชาได้กลายเป็นวัฒนธรรมพิเศษ ซึ่งมีผู้คนถือการต้มน้ำชาและมีประเพณีการชิมชาที่กลายเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในท้องถิ่นต่าง ๆ ของจีนมีโรงน้ำชาหรือร้านน้ำชามากมาย ที่ถนนเฉียนเหมินซึ่งเป็นย่านคึกคักของกรุงปักกิ่งก็มีร้านน้ำชาโดยเฉพาะ ทำให้ผู้คนสามารถดื่มชาพร้อม ๆ กับการกินอาหารพื้นเมืองและชมการแสดงต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นวิธีพักผ่อนที่สบาย ส่วนทางภาคใต้ของจีน นอกจากมีร้านน้ำชาและโรงน้ำชาแล้ว ยังมีเพิงน้ำชากลางแจ้ง ที่ส่วนมากจะสร้างตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้นั่งดื่มชาและชมวิวไปด้วย


ความเคยชินในการดื่มชา
ทุกที่ในประเทศจีนจะมีความแตกต่างกันอย่าง ชาวปักกิ่งชอบชามะลิ ส่วนชาวเซี่ยงไฮ้ชอบชาเขียว ชาวฮกเกี้ยนที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีนชอบชาแดง แต่ในท้องถิ่นบางแห่ง ผู้คนชอบใส่เครื่องปรุงรสในน้ำชา ทางมณฑลหูหนาน ภาคใต้ของจีนจะเลี้ยงแขกด้วยชาขิงเกลือ ซึ่งนอกจากมีใบชาแล้ว ยังมีเกลือ ขิงและถั่วเหลือง รวมทั้งผักสุกและเมล็ดงา เทใส่ในแก้วทั้งหมดและชงน้ำแช่ไว้ โดยให้ ดื่มน้ำชาก่อน แล้วจึงเทถั่วเหลือง เมล็ดงา ขิงและใบชาเข้าปากจากนั้นค่อย ๆ เคี้ยวจนได้กลิ่นหอมทำให้ท้องถิ่นบางแห่งจึงเรียกว่ากินชา

วิธีชงชาของท้องถิ่น
การชงชาแต่ละแห่งของชาวจีนก็ไม่เหมือนกัน ทางภาคตะวันออกของจีนส่วนมากจะใช้กาใหญ่ เมื่อมีแขกเข้าบ้าน ก็ใส่ใบชาในกาและเทน้ำร้อนใส่ลงไป เมื่อแช่ไว้จนได้กลิ่นและสีชาแล้วจึงรินใส่แก้วให้แขกดื่ม ส่วนบางท้องถิ่นของจีนเช่นเมืองจางโจวของมณฑลฮกเกี้ยนจะมีอุปกรณ์กังฮูเต๊ โดยมีเครื่องถ้วยชากาชาเป็นชุดและมีวิธีการชงชาที่พิเศษ จึงทำให้กลาย เป็นศิลปะชาที่มีเอกลักษณ์ของพื้นเมือง

มารยาทการดื่มชา
มารยาทการดื่มชาแต่ละแห่งจะไม่เหมือนกัน ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อเจ้าของบ้านยกถ้วยน้ำชามาให้ แขกต้องลุกขึ้นทันทีและเอาสองมือรับไว้พร้อมกับกล่าวคำขอบคุณด้วย   ทางภาคใต้ของจีนเช่นมณฑลกวางตุ้ง และ มณฑลกวางสี พอเจ้าของบ้านยกชามาให้ แขกต้องใช้นิ้วกลางขวามือเคาะโต๊ะเบา ๆ สามครั้ง เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ สำหรับบางท้องถิ่น หากแขกต้องการดื่มชาต่อ ก็ควรเหลือน้ำชาสักเล็กน้อยไว้ในถ้วย เมื่อเจ้าของบ้านเห็นแล้วก็จะรินชาเติมให้ แต่หากดื่มน้ำชาในถ้วยจนหมด เจ้าของบ้านก็จะคิดว่าแขกไม่อยากดื่มอีกทำให้ไม่ต้องเติมน้ำชาอีกครั้ง
น้ำชาเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของชาวจีน ไม่ว่าจะเป็นเวลาทำงาน กินข้าว รับรองแขก ก็ล้วนแต่นิยมดื่มน้ำชา กันทั้งนั้น เพราะว่า น้ำชาให้กลิ่นหอม แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน และยังเป็นผลดีต่อการบำรุงสมอง และร่างกายอีกด้วย

เมื่อเก็บใบชามาได้แล้วก็เข้าสู่ กระบวนการปรุงชา ซึ่งก็คือการปล่อยให้ใบชาเกิดกระบวนการ Oxidation หรือการหมัก จากใบชาสีเขียวสดก็จะค่อยๆ คล้ำลงเมื่อสัมผัสกับอากาศ พอได้ระดับที่ต้องการแล้วจึงอบด้วยความร้อนให้แห้งทันทีเพื่อหยุดกระบวนการหมักไว้ โดยชนิดที่แตกต่างกัน 5 ชนิดของชาจีนก็มาจากขั้นตอนนี้เอง

1. 
ชาขาว คือใบชาที่เด็ดมาหมักทิ้งไว้ประมาณครึ่งวันแล้วอบด้วยความร้อนให้แห้งทันที ชาขาวผ่านการหมักน้อยที่สุด ดังนั้นรสชาติจึงนิ่ง เหมาะสำหรับคนที่ฝึกโยคะหรือฝึกสมาธิ ควรชงกับน้ำร้อนประมาณ 85 องศา เพื่อรักษารสชาติของใบชาอ่อนๆ ไว้










2. ชาเขียว จะผ่านการหมักประมาณ 30-50% แล้วจึงนำไปอบแห้ง ขณะอบอาจนำดอกมะลิหรือดอกกุหลาบไปวางไว้ด้วยเพื่ออบกลิ่น กลายเป็นชาเขียวมะลิ ชาเขียวกุหลาบ

ชาเขียวแบบญี่ปุ่นก็ใช้วิธีเดียวกัน แต่เมื่อหมักได้ที่แล้วจะนำไปนึ่งแทนการอบแห้ง จากนั้นก็บดเป็นผง กลายเป็นมัตฉะ (Matcha) ชาเขียวมักให้ความรู้สึกสดชื่นเหมือนฤดูใบไม้ผลิ






3. ชาอูหลง หรือชาจีนที่เราคุ้นเคยกันดีนั่นเอง ตามปกติแล้วหากคนไทยพูดว่าชาจีนก็จะหมายถึงชาอูหลง ซึ่งมีประมาณเกือบ 2,000 ชนิด ชาอูหลงผ่านการหมักประมาณ 50-70% แล้วนำไปคั่ว ถ้าคั่วครั้งเดียวรสชาติจะอ่อน คั่วหลายครั้งก็จะเข้มข้นขึ้นตามลำดับ

ส่วนมากชาอูหลงไต้หวันจะคั่วกระทะเดียว แต่จีนจะคั่วหลายครั้ง เนื่องจากใช้ดื่มคู่กับข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ เป็ดพะโล้ รสชาติของชาจึงต้องเข้มข้น




4. ชาแดง ชาประเภทนี้ฝรั่งเรียกว่าชาดำ (Black tea) แต่จีนเรียกว่าหงชา (ชาแดง) เพราะชาจีนยังมีชนิดอื่นที่เข้มข้นกว่า ชาแดงจะผ่านกระบวนการหมัก 100% เต็ม
ความแตกต่างระหว่างชาแดงของจีนกับชาดำของฝรั่ง คือชาแดงของจีนจะเป็นชาเต็มใบ แต่ชาดำของฝรั่งจะบดทุกอย่างเป็นผงรวมกันแล้วบรรจุซอง บางครั้งอาจมีกิ่งหรือก้านชาติดไปด้วย ชาแดงของจีนที่โด่งดังขึ้นชื่อคือชาเจิ้งซานเสี่ยวจง หรือที่ฝรั่งเรียกว่าชา Lapsang นั่นเอง




5. ชาพูเอ่อร์ เป็นชาราคาแพงที่สุด อาจถึงขั้นขีดละนับหมื่นบาท ชาพูเอ่อร์เป็นชาที่หมักซ้ำ นั่นก็คือหลังจากหมักจนครบ 100% และอบแห้งแล้ว ปีถัดมาก็นำกลับมาอบไอน้ำให้ชื้นเพื่อหมักซ้ำอีก ทำซ้ำๆ อยู่เป็น 5 หรือ 10 ปีค่อยนำมาดื่ม จึงมีราคาแพงมาก






ที่มา :