พินอิน Pinyin (拼音)
“Pinyin พินอิน 拼音” คือตัวช่วยให้เราอ่านออกเสียงภาษาจีนได้อย่างถูกต้อง เพราะบางครั้งเวลานักเรียนใช้ภาษาไทยในการจดคำอ่านภาษาจีน มันอาจจะทำให้นักเรียนอ่านผิดเพี้ยนหรืออ่านได้ไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ พินอินมีลักษณะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้เรียนสามารถเข้าใจ และจดจำได้ง่าย เนื่องจากอักษรจีนเป็นอักษรที่พัฒนามาจากรูปภาพ และได้วิวัฒนาการจนมาเป็นอักษรเฉกเช่นปัจจุบัน เพราะฉะนั้นแค่มองตัวอักษรเราจะไม่รู้ว่ามันสะกดยังไง ต้องใช้ความจำเพียงอย่างเดียว “ตายล่ะ ใครจะไปจำได้ ตัวอักษรเยอะแยะตาแปะขายไข่ขนาดนั้น” เพราะฉะนั้นเราถึงต้องเรียนวิธีเขียนอ่านตัวสะกดภาษาจีนเอาไว้ หรือที่เรียกว่าพินอินซึ่งเปรียบเสมือน ก.ไก่ ข.ไข่ ในภาษาไทยนั่นเอง มันจะช่วยทำให้ชาวต่างชาติอย่างเราเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวก แล้วยังช่วยเราออกเสียงได้อย่างถูกต้องด้วย นอกจากนั้นใครที่รู้พินอินแล้วก็สามารถพิมพ์ภาษาจีนได้อย่าง่ายดาย
องค์ประกอบของพินอิน
1. 声母: พยัญชนะ มี 23 เสียง
2. 韵母: สระ แบ่งออกเป็นสระเดี่ยว และ สระผสม ทั้งหมด 36 เสียง
– สระเดี่ยวมี 6 เสียง
– สระผสมมี 30 เสียง
– สระผสมมี 30 เสียง
– สระเดี่ยวมี 6 เสียง
– สระผสมมี 30 เสียง– สระเดี่ยวมี 6 เสียง– สระผสมมี 30 เสียง– สระเดี่ยวมี 6 เสียง– สระผสมมี 30 เสียง– สระเดี่ยวมี 6 เสียง– สระผสมมี 30 เสียง
3. 声调: เสียงวรรณยุกต์ มี 4 เสียง และเสียงเบา
เสียงพยัญชนะ 声母 ทั้ง 23 เสียงของภาษาจีน
พยัญชนะ
|
วิธีการออกเสียง
|
b
|
ป
|
p
|
พ
|
m
|
ม
|
f
|
ฟ
|
d
|
เตอ
|
t
|
เทอ
|
n
|
เนอ
|
l
|
เลอ
|
g
|
เกอ
|
k
|
เคอ
|
h
|
เฮอ
|
j
|
จี
|
q
|
ชี
|
x
|
ซี
|
z
|
จือ
|
c
|
ชือ
|
s
|
ซือ
|
zh
|
จรือ(อ่านเป็นเสียงเดียว)
|
ch
|
ชรือ(อ่านเป็นเสียงเดียว)
|
sh
|
ซรือ(อ่านเป็นเสียงเดียว)
|
r
|
ยรือ(อ่านเป็นเสียงเดียว)
|
y
|
ยี
|
w
|
อู
|
เสียงสระ 韵母 ทั้ง 36 เสียงของภาษาจีน
1. สระเดี่ยว มี 6 เสียง
สระเดี่ยว
|
วิธีการออกเสียง
|
a
|
อา
|
o
|
โอ
|
e
|
เออ
|
i
|
อี
|
u
|
อู
|
ü
|
อวี (อ่านเป็นเสียงเดียว)
|
2. สระผสม มี 30 เสียง
a) ai ao an ang
|
o) ou ong
|
e) er ei en eng
|
i) ia iao ie iu ian in iang ing iong
|
u) ua uo uai ui uan un uang ueng
|
ü) üe üan ün
|
การเทียบเสียงจากเสียงสระภาษาจีนเป็นเสียงสระภาษาไทย
สระ
|
การอ่านออกเสียง
|
เทียบสระภาษาไทย
|
a
|
อา
|
-า
|
o
|
โอ , ออ
|
โ- , -อ
|
e
|
เออ
|
เ-อ
|
i
|
อี
|
-ี
|
u
|
อู
|
-ู
|
ü
|
ยูวี
|
-ูวี
|
ai
|
ไอ,อาย
|
ไ- , -ย
|
ei
|
เอย
|
เ-ย
|
ao
|
เอา,อาว
|
เ-า , -าว
|
ou
|
โอว
|
โ-ว
|
ia
|
เอียอา
|
เ-ียอา
|
ie
|
อีเย
|
-ีเย
|
iao
|
เอียว
|
เ-ียว
|
iu
|
อิว
|
-ิ
|
an
|
อัน,อาน
|
-ัน , -าน
|
en
|
เอิน
|
เ-ิน
|
ang
|
อัง,อาง
|
-ง , -าง
|
eng
|
เอิง
|
เ-ิง
|
ong
|
อง
|
-ง
|
ian
|
เอียน
|
เ-ียน
|
in
|
อิน
|
-ิน
|
iang
|
เอียง
|
เ-ียง
|
Ing
|
อิง
|
-ิง
|
iong
|
อียง
|
-ิยง
|
ua
|
อวา , อูวา
|
-วา , -ูวา
|
uo
|
อวอ
|
-วอ , -ูวอ
|
uai
|
อวย
|
-วย
|
ui
|
อุย
|
-ุย
|
uan
|
อวน
|
-วน
|
un
|
อุน
|
-ุน
|
uang
|
อวง
|
-วง
|
ueng
|
เวิง
|
เวิง
|
üe
|
ยูเว
|
-ูเว
|
üan
|
ยวน
|
-วน
|
ün
|
ยวิน
|
-วิน
|
声调: เสียงวรรณยุกต์
การถอดเสียงวรรณยุกต์
ระบบพินอินมีเครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์ 4 เครื่องหมายด้วยกัน ดังนี้
1. วรรณยุกต์เสียงที่หนึ่ง แทนด้วยขีดระนาบสั้น ๆ (ˉ) เทียบเท่าเสียง สามัญหรือตรี
ในภาษาไทย : ā ē ī ō ū ǖ
2. วรรณยุกต์เสียงที่สอง แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงขวา (ˊ) เทียบเท่าเสียง จัตวา ในภาษาไทย : ǎ ě ǐ ǒ ǔ ǚ
3. วรรณยุกต์เสียงที่สาม แทนด้วยขีดรูปลิ่ม (ˇ) คล้ายเสียง เอก ในภาษาไทย
3. วรรณยุกต์เสียงที่สาม แทนด้วยขีดรูปลิ่ม (ˇ) คล้ายเสียง เอก ในภาษาไทย
(แต่ไม่ใช่เสียง “เอก“) : ǎ ě ǐ ǒ ǔ ǚ
4. วรรณยุกต์เสียงที่สี่ แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงซ้าย (ˋ) เทียบเท่าเสียง โท ในภาษาไทย: ǎ ě ǐ ǒ ǔ ǚ
5. วรรณยุกต์เสียงที่ห้า ไม่มีเครื่องหมาย : a e i o u ü (แต่บางครั้งเขียนจุดหน้าพยางค์นั้น ๆ เช่น ·yo เยาะ)
4. วรรณยุกต์เสียงที่สี่ แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงซ้าย (ˋ) เทียบเท่าเสียง โท ในภาษาไทย: ǎ ě ǐ ǒ ǔ ǚ
5. วรรณยุกต์เสียงที่ห้า ไม่มีเครื่องหมาย : a e i o u ü (แต่บางครั้งเขียนจุดหน้าพยางค์นั้น ๆ เช่น ·yo เยาะ)
ในการใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์ อาจใช้ตัวเลขแทนเครื่องหมายวรรณยุกต์ได้ (1 2 3 4 5 ตามลำดับ)
การใส่วรรณยุกต์
โดยดูที่สระ a o e i u ü ตัวอย่างสระ ie ให้ใส่ที่ e เพราะ e มาก่อน (e i) ยกเว้นถ้า iu ใส่ที่ u
**ตัวอย่าง**
**ตัวอย่าง**
อักษรจีน
|
พินอิน
|
อักษรไทย
|
ความหมาย
|
妈
|
mā
|
มา หรือ ม้า
|
แม่
|
麻
|
má
|
หมา
|
ป่าน
|
马
|
mǎ
|
หม่า
|
ม้า
|
骂
|
mà
|
ม่า
|
ดุด่า
|
吗
|
·ma
|
มะ
|
หรือ, ไหม
|
วิธีการผสมเสียง (พยัญชนะ+สระ)
วิธีการผสมเสียงต้องประกอบด้วย พยัญชนะ + สระ + เสียงวรรณยุกต์ (เรียนในบทต่อไป)
1. พยัญชนะ รวมกับ สระเดี่ยว 1 ตัว (พยัญชนะจะไฮไลท์สีแดง) เช่น P + a = Pa
2. พยัญชนะ รวมกับ สระผสม เช่น
- สระผสม 2 ตัว เช่น bai gei hao tou ฯลฯ
- สระผสม 3 ตัว เช่น bang teng tong ฯลฯ
- สระผสม 4 ตัว เช่น xiong liang lieng ฯลฯ